วันเสาร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2559

ครั้งที่สาม

พระพุทธรูปศิลปะเชียงแสนลังกาวงศ์ มีต้นกำเนิดการสร้างขึ้นใน อาณาจักรเชียงแสน ซึ่งเป็นอาณาจักรโบราณที่กว้างใหญ่ในภาคเหนือ เป็นศิลปะที่เกิดจากการผสมผสานศิลปะแบบเชียงแสน และศิลปะจากประเทศลังกา ซึ่งได้รับการเผยแพร่เข้ามาทางภาคใต้ของประเทศไทย พระพุทธรูปศิลปะเชียงแสนลังกาวงศ์ ปางสมาธิ เนื้อสำริด มีความงดงามตามแบบฉบับของลังกาโดยแท้จริง โดยมีพุทธลักษณะเด่นชัดคือ พระพักตร์อวบกลมดูสมบูรณ์ พระโอษฐ์ยิ้มแบบมีเมตตา พระเนตรเนื้อสำริดเป็นแบบเนตรเนื้อ พระวรกายอวบอ้วนสมบูรณ์ เส้นสังฆาฏิสวยงาม เส้นจีวรครบถ้วน คมชัด ซึ่งถือได้ว่าเป็นพระพุทธรูป ปางสมาธิ ที่พบเห็นได้น้อยในศิลปะลังกาวงศ์ ส่วนมากจะพบเจอแต่ปางมารวิชัย ศิลปะแบบนี้ในประเทศไทยที่มีอยู่ในครอบครองของเอกชน ซึ่งหาได้น้อยมาก.

พระพุทธรูปเชียงแสนลังกาวงศเป็นศิลปะที่ได้รับอิทธิพลมาจากลังกา จากเดิมเป็นพระพุทธรูปลังกาแท้ที่เรียกกันทั่วไปว่า "ลังกานอก" หลังจากนั้นได้แผ่เข้ามามีอิทธิพลกับการสร้างพระพุทธรูปเชียงแสนในประเทศไทย ประมาณพุทธศตวรรษที่ 17 เรียกกันว่า "ลังกาใน" ต่อไปจนถึงยุคที่การสร้างพระพุทธรูปเชียงแสนเริ่มเสื่อมไป ในพุทธศตวรรษที่ 21 - 22 และในช่วงเวลาเดียวกันอิทธิพลจากประเทศอินเดีบก็ได้เข้ามามีอิทธิพลกับการสร้างพระพุทธรูปเชียงแสนในประเทศไทยเช่นเดียวกัน เพียงแต่แสดงออกในลักษณะศิลปะที่แตกต่างกันเท่านั้น เช่นลักษณะการนั่ง พระพักตร์. ฯลฯ




1. พุทธลักษณะโดยรวม.
พระพุทธรูปศิลปะลังกา แบ่งเป็น 2 แบบ แบบแรกเรียกว่า"ลังกานอก" เป็นศิลปะที่ไม่ได้มีการผสมผสานกับเชียงแสน แต่ศิลปะอีกแบบที่กำลังจะกล่าวถึงในที่นี้คือ พระพุทธรูปเชียงแสนลังกาวงศ์ หรือบางท่านเรียก"ลังกาใน" พระพุทธรูปแบบนี้ได้รับอิทธิพลจากลังกา ถึงแม้จะเป็นสิงห์หนึ่งหรือไม่ก็ตามจะต้องเป็นแบบนั่งราบเท่านั้น คือนั่งขัดสมาธิแบบขาขวาทับบนขาซ้าย.

2. กรรมวิธีการสร้าง.
การหล่อพระพุทธรูปในแบบเชียงแสนลังกาวงศ์ พระพุทธรูปมีเนื้อบางกว่าการหล่อพระ พุทธรูปเชียงแสนแท้ๆ โดยจะสังเกตุได้ว่าพระพุทธรูปเชียงแสนลังกาวงศ์บางองค์มีการเทสัมฤทธิ์เพิ่มเติมเข้าไปเพื่อให้นิ้วมือ หรือบางจุดที่เป็นจุดเทสัมฤทธิ์เข้าไปได้ยากให้เต็ม แต่ไม่ได้ถือเป็นความผิดพลาด หรือบ่งบอกว่าพระองค์นั้นๆ เป็นพระซ่อมเนื่องจากรอยซ่อมเป็นการซ่อมแต่เดิม เนื้อสัมฤทธิ์มีความเก่าแก่เท่ากับเนื้อสัมฤทธิ์ในจุดอื่นๆ ผิวมีความเสมอกัน ซึ่งแตกต่างไปจากการซ่อมใหม่ ซึ่งเนื้อสัมฤทธิ์มีสีแตกต่างไปจากสีเดิม.

3. เม็ดพระศก.
พระพุทธรูปเชียงแสนลังกาวงศ์สามารถแบ่งลักษณะของเม็ดพระศกได้เป็น 2 แบบ ตามลักษณะการปั้นองค์พระของช่างในสมัยนั้น
แบบที่ 1 เรียกกันเป็นที่ติดปากว่าเม็ดสาคู ลักษณะของการปั้นพระ จะปั้นเป็นเศียรพระก่อน หลังจากนั้นจะปั้นเม็ดพระศกแปะลงบนเศียรวางเรียงอย่างเป็นระเบียบ ศิลปะแบบนี้ถือได้ว่ามีความจัดจ้านมากกว่าแบบที่ 2 มาก และอายุของพระที่สร้างจะมากกว่า แบบที่ 2 ดังตัวอย่างที่แสดงนี้
แบบที่ 2 ลักษณะการทำต่างกัน โดยการปั้นเศียรพระขึ้นมาก่อน หลังจากนั้นเม็ดพระศกจะใช้การตอกเม็ดพระศกลงบนเศียรพระ ส่วนการจัดเรียงเม็ดพระศก ขึ้นอยู่กับความเพียรของช่างปั้นคนนั้นๆ.

4. พระวรกาย
จำนวน 95 % ของพระพุทธรูปที่ได้รับอิทธิพลจากลังกา นั่งขัดสมาธิราบตามแบบของลังกาเดิม แม้ว่าจะเป็นสิงห์หนึ่งหรือสิงห์สามก็ตาม แต่พระพุทธรูปบางองค์หรือน้อยองค์ที่อยู่ในจำนวน 5 % นั่งขัดสมาธิเพชร ความจัดจ้านของศิลปะในจุดอื่นๆ สังเกตได้จากเส้นสังฆาฏิ ที่มีรายละเอียดงดงามกว่าหาได้ยากกว่าแบบธรรมดา เส้นสังฆาฏิตามปกติของศิลปะแบบลังกา เส้นด้านหลังจะพาดลงไปจนเกือบถึงฐานพระ แต่พระพุทธรูปจะไม่นั่งทับเส้นสังฆาฏิเหมือนกับพระพุทธรูปเชียงแสนธรรมดา เส้นจีวรต่างๆ มีความคมชัดและครบถ้วน แม้กระทั่งเส้นที่พาดอยู่บริเวณหน้าแข้ง .

5. ฐานพระ
ฐานเขียงหรือฐานเรียบที่ไม่มีความวิจิตรพิศดาร ถือได้ว่าเป็นพระพุทธรูปเชียงแสนลังกาวงศ์ที่สร้างขึ้นมาในยุคแรก ๆ รูปบัวที่ฐานของพระรุ่นแรกๆ จะใช้วิธีการขีดเป็นลายรูปบัว ส่วนรุ่นหลังจะใช้การปั้นแบบพิมพ์แล้วหล่อเป็นบัวที่สวยงาม หรือแม้กระทั่งการสร้างเป็นฐานฉลุลายรูปเทพพนม ช้าง หรือม้า ทำให้ดูแปลกตา.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

testdo

est