วันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2559

พระพระยานรรัตนราชมานิต (เจ้าคุณนรฯ วัดเทพศิรินทร์ฯ)



ปี พ.ศ 2468 ถือเป็นปีที่ให้กำเนิดของเด็กน้อยคนหนึ่ง ที่ต่อมาได้เติบโตและกลายเป็นทั้งข้าราชการใหญ่ และภิกษุที่เคร่งครัดในศีลจริยาวัตรและพระธรรมวินัยอันงดงาม

จากเด็กน้อยนาม เด็กชายตรึก จินตยานนท์ เกิดมาในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2441 เข้าเรียนหนังสือเมื่อวัยเยาว์ที่โรงเรียนวัดเบญจมบพิตร จนจบชั้นสูงสุด

ประวัติหลวงปู่สุระ วัดสวนใหม่ ยะลา

หลวงปู่สุระ นามเดิมท่านชื่อ ซิ้ว เจริญปรุง และได้เปลี่ยนชื่อเป็น สุระ เกิดเมื่อ 1 กุมภาพันธุ์ 2459

ท่านเป็นคนพื้นเพ อยู่ต.บ่อดาน อ.สะทิ้งพระ จ.สงขลา มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน สามคน

เมื่ออายุได้ 15 ปี ท่านได้เข้าบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดใกล้บ้าน คือวัดใหม่ อ.บ่อดาน อ.สะทิ้งพระ

จนกระทั่งอายุครบ 20 ท่านจึงเข้าอุปสมบทเป็นภิกษุ ณ วัดมัชฒิมาวาส จ.สงขลา มี่พระเทพวิสุทธิคุณ(เลี่ยม อลีโน) เป็นพระอุปัชฌาย์  และได้ฉายาว่า "ภูริปญโญ"


วันเสาร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2559

ครั้งที่สาม

พระพุทธรูปศิลปะเชียงแสนลังกาวงศ์ มีต้นกำเนิดการสร้างขึ้นใน อาณาจักรเชียงแสน ซึ่งเป็นอาณาจักรโบราณที่กว้างใหญ่ในภาคเหนือ เป็นศิลปะที่เกิดจากการผสมผสานศิลปะแบบเชียงแสน และศิลปะจากประเทศลังกา ซึ่งได้รับการเผยแพร่เข้ามาทางภาคใต้ของประเทศไทย พระพุทธรูปศิลปะเชียงแสนลังกาวงศ์ ปางสมาธิ เนื้อสำริด มีความงดงามตามแบบฉบับของลังกาโดยแท้จริง โดยมีพุทธลักษณะเด่นชัดคือ พระพักตร์อวบกลมดูสมบูรณ์ พระโอษฐ์ยิ้มแบบมีเมตตา พระเนตรเนื้อสำริดเป็นแบบเนตรเนื้อ พระวรกายอวบอ้วนสมบูรณ์ เส้นสังฆาฏิสวยงาม เส้นจีวรครบถ้วน คมชัด ซึ่งถือได้ว่าเป็นพระพุทธรูป ปางสมาธิ ที่พบเห็นได้น้อยในศิลปะลังกาวงศ์ ส่วนมากจะพบเจอแต่ปางมารวิชัย ศิลปะแบบนี้ในประเทศไทยที่มีอยู่ในครอบครองของเอกชน ซึ่งหาได้น้อยมาก.

พระพุทธรูปเชียงแสนลังกาวงศเป็นศิลปะที่ได้รับอิทธิพลมาจากลังกา จากเดิมเป็นพระพุทธรูปลังกาแท้ที่เรียกกันทั่วไปว่า "ลังกานอก" หลังจากนั้นได้แผ่เข้ามามีอิทธิพลกับการสร้างพระพุทธรูปเชียงแสนในประเทศไทย ประมาณพุทธศตวรรษที่ 17 เรียกกันว่า "ลังกาใน" ต่อไปจนถึงยุคที่การสร้างพระพุทธรูปเชียงแสนเริ่มเสื่อมไป ในพุทธศตวรรษที่ 21 - 22 และในช่วงเวลาเดียวกันอิทธิพลจากประเทศอินเดีบก็ได้เข้ามามีอิทธิพลกับการสร้างพระพุทธรูปเชียงแสนในประเทศไทยเช่นเดียวกัน เพียงแต่แสดงออกในลักษณะศิลปะที่แตกต่างกันเท่านั้น เช่นลักษณะการนั่ง พระพักตร์. ฯลฯ


testdo

est